ฝ่ายวิจัยและพัฒนา (Research & Development)

                   ห้องปฏิบัติการวิจัยและพัฒนา เป็นส่วนหนึ่งของโรงงานต้นแบบ (Pilot Plant) โครงการจัดตั้งศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งอยู่บริเวณชั้น 2 ของอาคารนวัตกรรมชีวภัณฑ์ (MU-BIO Innovation Building) มีภารกิจด้านการบริการวิชาการ พัฒนากระบวนการผลิตและวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ชีววัตถุ เพื่อใช้ทางการแพทย์ อาทิ ยาชีววัตถุ โปรตีนเพื่อการรักษา วัคซีน โปรตีน ซึ่งเป็นองค์ประกอบของชุดตรวจวินิจฉัย เพื่อสนับสนุนงานวิจัยที่มีศักยภาพให้มีความพร้อม สามารถประยุกต์ใช้ในภาคอุตสาหกรรมและเชิงพาณิชย์อย่างจริงจังและเป็นรูปธรรม (Translational Research) 

การแบ่งห้องภายในห้องปฏิบัติการวิจัยและพัฒนา แบ่งออกเป็น 10 ห้อง ดังนี้

1. Changing room

2. Purification room

3. Storage room

4. Mass spectroscopy room

5. Central lab room

6. Wash and autoclave room

7. Cell culture lab room

8. Microbial lab room

9. Low particulate room

10. Spectroscopy room

  • ผ่านการตรวจประเมินมาตรฐานด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ ในโครงการยกระดับความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศไทย (Enhancement of Safety Practice of Research Laboratory in Thailand, ESPReL) โดยได้รับรางวัลห้องปฏิบัติการต้นแบบในปี พ.ศ. 2562 ของมหาวิทยาลัยมหิดล                                                                                                                                         – เลขทะเบียนห้องปฏิบัติการ: 2-0131-0094-9                                                                  
  • ดำเนินงานและปฏิบัติงานภายใต้ พรบ. ความปลอดภัยเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ พ.ศ. 2558 โดยมีระดับความปลอดภัยทางชีวภาพของห้องปฏิบัติการ (Biosafety) ในระดับ BSL2

        สืบเนื่องจากในปัจจุบันประเทศไทยมีงานวิจัย การค้นพบและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชีววัตถุอย่างเเพร่หลาย แต่โดยมากยังเป็นการผลิตและทดสอบในระดับห้องปฏิบัติการ ไม่สามารถขยายขนาดการผลิตได้ เนื่องจากต้นทุนการผลิตสูง ไม่ตอบโจทย์ความคุ้มค่าในการผลิตในระดับอุตสาหกรรม ข้อมูลยังไม่ครบถ้วนเพียงพอ สำหรับนำไปประกอบการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์

       ห้องปฏิบัติการวิจัยและพัฒนามีจุดหมาย เพื่อพัฒนากระบวนการผลิตที่สามารถขยายขนาดได้ ผลิตในปริมาณมากและมีความบริสุทธิ์สูง เพื่อเชื่อมโยงกระบวนการผลิตไปสู่ระดับกึ่งอุตสาหกรรม (Pilot scale) โดยให้สอดคล้องกับขนาดและข้อจำกัดของเครื่องมืออุปกรณ์และเทคโนโลยีที่นิยมใช้ในภาคอุตสาหกรรม ศึกษาเปรียบเทียบผลิตผล (Yield) ที่ได้และมีความคุ้มค่าในการผลิต กำหนดคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ และค่าการยอมรับได้ของกระบวนการผลิต โดยมีขอบข่ายดังนี้

ที่มีการแสดงออกของของผลิตภัณฑ์ที่สนใจ พัฒนาวิธีการตรวจสอบคุณสมบัติของเซลล์ วางแผนและตรวจสอบคุณลักษณะของเซลล์

Upstream process ตั้งแต่ระดับ Flask จนถึง Fermentor หรือ Bioreactor

Downstream process การทำบริสุทธิ์ผลิตภัณฑ์ กรองปราศจากเชื้อ การทำแห้งแบบเยือกแข็ง หรือเทคนิคอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

เพื่อควบคุมกระบวนการผลิต ด้วยเทคนิควิธีต่างๆ

ในกระบวนการผลิต และเครื่องมือวิเคราะห์สารชีววัตถุอย่างครบวงจร

gdpr-image
This website uses cookies to improve your experience. By using this website you agree to our Data Protection Policy.
Read more